รวมทุกข้อมูล สำหรับเตรียมตัวสอบเข้า ม.1 โรงเรียนชั้นนำ
สอบเข้าม.1
สอบเข้ารร.รัฐแข่งขันสูง
สอบเข้ารร.ชั้นนำ
สวนกุหลาบ
สามเสน
สาธิตปทุมวัน
รร.ประจำจังหวัด
profile
พี่เซียนจ๋อ
2024-01-27

สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้า ม.1 รวมถึงผู้ปกครองที่ช่วยเตรียมตัวให้ลูก ๆ และไม่รู้จะศึกษาข้อมูลจากแหล่งไหน ในบทความนี้พี่จ๋อได้รวบรวมสิ่งที่ควรรู้ไว้ให้แล้ว ไปดูกันเลยยยย…

1. ประเภทของห้องเรียน

น้อง ๆ ที่อยู่ป.6 ก็อาจจะไม่เข้าใจใช่ไหมล่า ว่าประเภทของห้องเรียนคืออะไร ระดับชั้นประถมที่เราเรียนอยู่ก็ไม่เห็นจะมีห้องเรียนหลายประเภทเลยนี่นาาา พี่จ๋อจะเล่าให้ฟังครับ!

ในระดับชั้นมัธยมศึกษาของบางโรงเรียนจะมีประเภทห้องเรียนที่ต่างกันไป โดยทุกโรงเรียนจะมีห้องเรียนที่เรียกว่า “ห้องเรียนปกติ” และบางโรงเรียนจะมีห้องเรียนที่เรียกว่า “ห้องเรียนพิเศษ” ซึ่งหมายถึงห้องเรียนที่มีรูปแบบการเรียนที่เข้มข้นกว่าห้องเรียนปกติ และมีรูปแบบการสอนที่ต่างจากห้องเรียนปกติ ห้องเรียนพิเศษแบ่งได้เป็นหลายแบบด้วยกันขึ้นอยู่กับโรงเรียน แต่รูปแบบที่มีให้เห็นบ่อย ๆ เช่น

  1. ห้องเรียน EP (English Program) - เป็นห้องเรียนที่มีรูปแบบการสอนในบางวิชาเป็นภาษาอังกฤษ (วิชาที่ยกเว้น เช่น ภาษาไทย, สังคมศึกษา) โดยยังเป็นการเรียนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ แบบเดียวกับห้องเรียนปกติ (หมายเหตุ: บางโรงเรียนอาจมีห้องเรียนรูปแบบ MEP (Mini English Program) ซึ่งต่างจากห้องเรียน EP ตรงที่จะมีการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพียง 3 วิชาหลักคือคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษเท่านั้น และบางโรงเรียนอาจมีห้องเรียนรูปแบบ IEP (Intensive English Program) ซึ่งจะเป็นห้องเรียนที่เน้นเรียนภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น ส่วนวิชาอื่น ๆ ยังมีการสอนเป็นภาษาไทย)

  2. ห้องเรียน Gifted - เป็นห้องเรียนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้นกว่าห้องเรียนปกติ (หน่วยกิตเยอะกว่า และอาจมีวิชาที่ต้องเรียนเยอะกว่า เช่น การวิจัย หรือการทำโครงงาน) บางโรงเรียนมีการสอนสองรายวิชานี้เป็นภาษาอังกฤษด้วย แต่ยังอยู่ในหลักสูตรและแบบเรียนของสสวท. (ห้องเรียน Gifted อาจมีชื่อเรียกได้หลายแบบ เช่น ห้อง Gifted วิทย์-คณิต, ห้อง SM (Sci-Math), ห้อง MSEP, ห้อง ESC หรือห้อง GATE ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นต้น)

2. กำหนดการสอบ

ปฏิทินการรับสมัครนักเรียนในโรงเรียนที่สังกัดสพฐ. ในแต่ละปีจะอยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกัน โดยสำหรับปี 2567 นี้มีกำหนดการต่าง ๆ ดังนี้

กำหนดการ ห้องเรียนพิเศษ ห้องเรียนปกติ
รับสมัคร 10 - 14 ก.พ. 2567 9 - 13 มี.ค. 2567
สอบคัดเลือก 18 ก.พ. 2567 23 มี.ค. 2567
ประกาศผล ภายใน 6 มี.ค. 2567 27 มี.ค. 2567
รายงานตัว ภายใน 6 มี.ค. 2567 30 มี.ค. 2567
มอบตัว ภายใน 6 มี.ค. 2567 30 มี.ค. 2567

ส่วนโรงเรียนที่ไม่ได้สังกัด สพฐ. พี่จ๋อแนะนำให้ตรวจสอบกำหนดการสอบกับทางโรงเรียนที่น้อง ๆ อยากเข้าอีกทีน้าาาา

3. เนื้อหาที่ออกสอบ

เนื้อหาที่ออกสอบแต่ละวิชา โดยปกติแต่ละโรงเรียนจะออกข้อสอบโดยอิงจากเนื้อหาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดยเน้นเนื้อหาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 เป็นหลัก โดยอาจมีการนำเนื้อหาระดับประถมต้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของคำถามได้ด้วยแหละ!

ข้อสอบที่ใช้สอบหลัก ๆ จะมี 5 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์, ภาษาไทย, วิทยาศาสตร์, สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ โดยข้อสอบสำหรับห้องเรียนปกติ และห้องเรียนพิเศษ จะแตกต่างกันออกไปตามประเภทห้องเรียนและแผนการเรียนของแต่ละโรงเรียน

พี่จ๋อขอแอบบอกว่าา.. ข้อสอบสำหรับห้องเรียนพิเศษอาจจะมีความยากกว่าข้อสอบสำหรับห้องเรียนปกติ และอาจไม่ได้สอบครบทั้ง 5 วิชา โดยส่วนใหญ่จะมีการ สอบแค่ 3 วิชาคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนน้าาา

สำหรับน้อง ๆ ที่เตรียมสอบเข้าม.1 สามารถดูเนื้อหาที่ออกสอบเข้าม.1 บ่อย ๆ ได้จากด้านล่างนี้เล้ย!

เนื้อหาที่ออกสอบบ่อย: วิชาคณิตศาสตร์สอบเข้าม.1

  • การบวก ลบ คูณ หาร จำนวนนับ
  • เศษส่วนและทศนิยม
  • อัตราส่วนและร้อยละ
  • แบบรูปและความสัมพันธ์
  • เวลา, น้ำหนัก, ความยาว, ความจุ
  • มุมและเส้นขนาน
  • สามเหลี่ยม / สี่เหลี่ยม / วงกลม
  • รูปเรขาคณิตสามมิติ
  • แผนภูมิวงกลม, แผนภูมิแท่ง และกราฟเส้น

เนื้อหาที่ออกสอบบ่อย: วิชาภาษาไทยสอบเข้าม.1

  • การอ่าน

    • การอ่านจับใจความ/วิเคราะห์ข้อความจากเรื่องที่อ่าน, บทร้อยแก้ว-บทร้อยกรอง, แผนผัง-แผนภูมิ
    • ความหมายโดยนัย, การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน
  • การเขียน

    • การเขียนจดหมายส่วนตัว, จดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ, จดหมายถึงเพื่อนและบิดามารดา
    • การเขียนเรียงความและย่อความ
  • การฟัง การดู และการพูด

    • การตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลจากเรื่องที่ฟังและดู
    • วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดู
  • หลักการใช้ภาษาไทย

    • การอ่านและการสะกดคำ
    • ชนิดของคำ (คำควบกล้ำ, คำประสม, คำซ้อน)
    • หน้าที่ และความหมายของคำในบริบทต่าง ๆ
    • ส่วนประกอบและลักษณะของประโยค (ประโยคสามัญ, ประโยคซ้อน)
    • การเรียงลำดับคำในพจนานุกรม
    • ฉันทลักษณ์ (กาพย์, โคลง, กลอน, ฉันท์)
    • ความหมายของสำนวน และวิเคราะห์สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต
    • คำราชาศัพท์
    • คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
    • คำที่เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
  • วรรณคดีและวรรณกรรม

    • ข้อคิดจากนิทาน วรรณคดี หรือวรรณกรรม

เนื้อหาที่ออกสอบบ่อย: วิชาวิทยาศาสตร์สอบเข้าม.1

  • ฟิสิกส์

    • แรงและพลังงาน
    • เสียง
    • แสง
    • ไฟฟ้า
  • เคมี

    • สมบัติทางกายภาพและสถานะของสสาร
    • การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของสสาร
    • วัฏจักรน้ำ
  • ชีววิทยา

    • การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต (สัตว์, พืช)
    • ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต, สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
    • สารอาหารและระบบย่อยอาหาร
    • ส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบของพืชดอก
  • ดาราศาสตร์

    • โลกและอวกาศ
    • ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ กลุ่มดาว
    • ปรากฎการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ
    • อุปราคาและเทคโนโลยีอวกาศ

เนื้อหาที่ออกสอบบ่อย: วิชาสังคมศึกษาสอบเข้าม.1

  • ศาสนา

    • คัมภีร์และหลักธรรมของศาสนา
    • การปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา
    • ศาสดาของศาสนา
    • พิธีกรรมและวันสำคัญทางศาสนา
  • หน้าที่พลเมือง

    • อำนาจอธิปไตยและความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
    • บทบาทและหน้าที่ของพลเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง
    • อำนาจ หน้าที่ และความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น
    • สิทธิพื้นฐานที่เด็กพึงได้รับ
    • วัฒนธรรมไทย
    • การปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี
  • เศรษฐศาสตร์

    • ความหมายของเศรษฐศาสตร์
    • ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
    • ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ
    • หลักการเศรษฐกิจพอเพียง
    • หน้าที่เบื้องต้นของเงิน
    • หน้าที่เบื้องต้นของธนาคาร
    • หลักการสำคัญและประโยชน์ของสหกรณ์
    • บาทบาทของผู้ผลิตและผู้บริโภค
    • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ธนาคารและรัฐบาล
  • ประวัติศาสตร์

    • พัฒนาการของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทยในแต่ละยุคสมัย
    • หลักฐานและประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
    • อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียและจีนที่มีต่อไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    • ความสัมพันธ์ของกลุ่มอาเซียน
    • ผลงานของบุคคลสำคัญด้านต่าง ๆ สมัยรัตนโกสินทร์
  • ภูมิศาสตร์

    • ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย
    • ภัยพิบัติ
    • ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
    • ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

เนื้อหาที่ออกสอบบ่อย: วิชาภาษาอังกฤษสอบเข้าม.1

  • Short Conversation
  • Vocabulary
  • Grammar & Structure
  • Cloze Test
  • Reading Comprehension
  • Error Identification

น้อง ๆ ที่ต้องการติวสอบเข้าม.1 พี่จ๋อก็ขอฝากเว็บไซต์ MonkeyEveryday ไว้ด้วยนะคร้าบบบ

เพราะเว็บไซต์ของเรามีให้ครบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคอร์สเรียนออนไลน์สุดเข้มข้น ระดับความยากมีตั้งแต่พื้นฐาน ไปจนถึงความยากระดับสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดม และโรงเรียนชั้นนำ

มีให้ครบทุกวิชา ทุกบทที่ใช้สอบ พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลยละเอียด คลังข้อสอบเก่าระดับเทพให้ฝึกทำจนเป็นเซียน รู้ทันข้อสอบที่จะเจอ รวมถึงระบบการจำลองสอบเสมือนจริงหรือ Pre-Test ที่ออกข้อสอบโดยติวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญ

มีรูปแบบข้อสอบและแนวข้อสอบเหมือนกับข้อสอบจริงทุกประการอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้ว ลุยเล้ยยยย :D

ทดลองเรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

เรียนได้ทุกวิชา ทุกคอร์ส ฟรี 1 วัน สมัครเลย