บางครั้ง แม้ว่าเราจะอ่านหนังสือมาเยอะแค่ไหน, เตรียมตัวสอบมาดีเท่าใด แต่พอทำข้อสอบแล้วกลับทำไม่ทัน บ้างหรือข้อที่ทำได้ก็ไม่ได้ทำบ้าง ซึ่งเรื่องเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการ “วางแผนการทำข้อสอบ” ครับ โดย เราสามารถวางแผนได้ตั้งแต่เริ่มทำข้อสอบจนใกล้หมดเวลาเลยทีเดียว
แล้วต้องทำยังไงบ้างล่ะ?
ในการทำข้อสอบนั้น สิ่งที่เราควรทำอย่างแรกคือมองภาพรวม(Overview) ของข้อสอบก่อน จากนั้นเมื่อทำ ข้อสอบไปเรื่อย ๆ แน่นอนว่าหากข้อสอบชุดนั้นยาก เราควรจะเผื่อเวลาเอาไว้ในช่วงท้ายเพื่อเดาข้อสอบเอาไว้ ด้วยครับ
ทำไมต้องดู Overview ก่อน?
การเปิดดูภาพรวมข้อสอบก่อน จะช่วยให้เรารู้ว่าข้อสอบเรื่องที่เราถนัดอยู่ที่ไหน ส่วนไหนพอทำได้ และส่วนไหน ที่ทำไม่ได้ เตรียมมั่วได้เลย :D และจากนั้นเราจะสามารถวางแผนได้ว่าจะทำส่วนใดก่อนหรือหลังครับ (ซึ่ง พี่จ๋อแนะนำให้เริ่มจากส่วนที่ถนัดก่อน เพราะเราจะมีคะแนนในส่วนที่ควรได้อย่างแน่นอน และมีแรงไปเก็บส่วนที่ ยากในช่วงหลังนั่นเองครับ)
เตรียมตัวสำหรับช่วงเวลาสุดท้าย
เมื่อเราวางแผนเสร็จแล้วให้ลองนึกถึงตอนใกล้หมดเวลาดูครับ อุปสรรคของเราในการมั่วช่วงท้ายนั้นไม่ใช่ใครเลย นอกจาก “ข้อสอบอัตนัย” นั่นเอง ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการล่กในช่วงท้าย เราควรเริ่มทำ ข้อสอบอัตนัยให้หมดก่อนเป็นอย่างแรกครับ (แต่ข้อไหนยากมาก พี่จ๋อก็แนะนำให้ข้ามนะ)
And Finally…
เมื่อทำข้อสอบมาสักพักและเวลาเริ่มใกล้จะหมด เราควรจะเริ่มวางแผนได้แล้วว่าเหลือข้อไหนบ้างที่เราน่าจะยังพอทำได้ และข้อไหนที่เราจะมั่ว แต่แม้กระทั่งการมั่วก็มีหลักการของมันครับ พี่จ๋อยินดีที่จะช่วยให้น้อง ๆ เพิ่มโอกาสในการมั่วให้ถูกมากขึ้นครับ
-
การตัดช้อยส์ : ในการจะมั่วนั้น ข้อบางข้อเราสามารถตัดช้อยส์ออกไปได้โดยการประมาณช่วงคำตอบ (หากเป็นวิชาคำนวณ) หรือดูว่าข้อใดไม่ถูกอย่างแน่นอนก็จะสามารถเพิ่มโอกาสมั่วถูกได้มากขึ้นครับ
-
ใช้ข้ออื่นช่วย : บางครั้งการโฟกัสกับโจทย์ข้อเดียวมากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดีนัก หากเราลองข้ามไปทำข้ออื่นที่คล้าย ๆ กันเราอาจจะเจอแนวคิดบางอย่าง หรือข้อมูลที่เราลืมไปในโจทย์ข้ออื่นและนำกลับมาประยุกต์ใช้ในข้อที่เราทำไม่ออกก็ได้ครับ
-
ดิ่งข้อที่ตอบน้อย : เมื่อเราได้ลองมั่วหมดทุกทางแล้วแต่ยังเหลือบางข้อที่เรายังทำไม่ได้ การดิ่งคำตอบจะเป็นทางเลือกสุดท้ายครับ โดยปกตินั้นข้อสอบจะออกแบบมาให้ช้อยส์ที่ถูกต้องนั้นมีค่าจำนวนใกล้เคียงกัน ดังนั้นเมื่อต้องการจะดิ่งคำตอบ พี่จ๋อแนะนำให้ดิ่งช้อยส์ที่เราตอบไปน้อยที่สุดจะมีโอกาสถูกมากที่สุดครับ
สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดในการทำข้อสอบคือการตอบผิดข้อ (โดยเฉพาะเวลาเราทำข้ามข้อ) ดังนั้นพี่จ๋อแนะนำให้เราตรวจสอบให้มั่นใจก่อนจะตอบลงไป จะได้ไม่เสียคะแนนที่เราควรจะได้นะครับ
สุดท้ายนี้ แม้ว่าเราจะรู้เทคนิคต่าง ๆ ไปมากมาย แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็ยังคงเป็นความรู้ และประสบการณ์ในการทำโจทย์ที่น้อง ๆ ฝึกซ้อมมาอยู่ดี พี่จ๋อขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคน สามารถผ่านช่วงเวลานี้ไปได้และสอบติดคณะที่หวังทุกคนนะครับ